รู้หรือไม่ ใน Windows 10 เวลาคุณกด Shutdown จริง ๆ แล้วมันไม่ได้ Shutdown คุณยังไม่ต้องเชื่อผมก็ได้ และคุณลองพิสูจน์ได้ด้วยการเข้าไปที่ Task Manager ของ Windows ด้วยการกดปุ่ม Ctrl, Shift และ ESC พร้อมกัน แล้วกดเลือกแท๊ป “Performance” แล้วดูข้อมูลตรงที่เขียนว่า Up time ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่บอกว่า จริง ๆ แล้วเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ (Windows 10) นั้นเปิดทำงานมาแล้วนานแค่ไหน ในกรณีของผมก็คือ 3 วัน 8 ชั่วโมง กับอีก 23 นาทีโดยประมาณ (ดูภาพประกอบนะครับ)

แล้วทำไมมันถึงเป็นแบบนี้ คุณอาจจะบอกว่า อ้าวก็กด Shutdown ทุกครั้ง มันก็ต้องปิดเครื่องไปแล้วแล้วทำไมเวลา Up Time ตรงนี้ทำไมยังนับต่อ ทำไมไม่เริ่มจาก 1 ใหม่ ตรงนี้คือความสามารถใหม่ที่เพิ่มเข้ามาใน Windows 10 ที่เรียกว่า “Fast Startup” ที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ Windows 10 ไม่มีการ Shutdown แบบสมบรูณ์ หรือจะเรียกว่าคอมพิวเตอร์ของคุณไปอยู่ในโหมดกึ่งกลางระหว่าง Shutdown และ Hibernation (แปลตรง ๆ ตัวว่า “จำศีล”) ซึ่งผลที่ได้ก็คือ ทำให้เรารู้สึกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเปิดกลับมาพร้อมใช้ได้อย่างรวดเร็ว นับเวลาตั้งแต่กดปุ่มเปิดเครื่อง ไปจนถึงพร้อมที่จะให้เราล๊อคอิน (Login) เข้าใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี
แล้วการ Shutdown แบบนี้มันมีผลข้างเคียงหรือไม่ มีแน่นอนครับ เพราะว่าการเข้าสู่โหมดกึ่งงกลางแบบนี้ ตัว Windows ก็จะยังจำค่าต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการทำงานของโปรแกรมหรืออะไรก็ตามค้างเอาไว้ในหน่วยความจำ (Memory) แล้วเขียนไปพักเอาไว้ในฮาร์ดดิส (หรือ SSD) แล้วก็ไม่เคยมีการเคลียร์ทิ้งไป เมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์กลับมาใหม่ ค่าต่าง ๆ เหล่านี้ก็จะถูกเรียกให้ขึ้นกลับมาใหม่ จะยังคงค้างงอยู่ จึงไม่ต้องแปลกใจเลยว่าทำไมพอนานวันเข้าตัว Windows เองก็จะเริ่มรวนและทำงานผิดพลาดเรื่อย ๆ
แล้วถ้าต้องการ Shutdown แบบสมบรูณ์ เราจะทำอะไรได้บ้าง?
เราก็สามารถทำได้ 2 อย่างครับ 1 คือไปปิดโหมดการทำงาน Fast Startup ไปเลย ซึ่งก็ทำได้ไม่ยากดังนี้ (ดูภาพประกอบ)
- กดที่ปุ่ม Start ที่มุมล่างซ้ายของจอภาพ แล้วพิมพ์คำว่า Power
- เลือก “Power & Sleep Settigs” และคลิก “Additional Power Setting”
- จะมีตัวเลือก “Choose what the power buttons do” ในหน้าต่างด้านซ้าย
- ให้ยกเลิกการเลือกตัวเลือก “Turn on fast startup (recommended)” (คุณอาจจะต้องกดเลือก “Change Settings that rea currently unavailable” แล้วตัวเลือกนึ้ถึงจะให้เรากดยกเลิกได้)
- กด Save Changes เพื่อบันทึกการเปลี่ยนแปลง


เพียงเท่านี้ก็เรียบร้อย จากนั้นก็ทดลอง Shutdown คอมพิวเตอร์แล้วเปิดกลับมาใหม่ แล้วลองดูว่าเวลาตรง Up Time เปลี่ยนไปหรือไม่ ? แต่ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นก็คือ ช่วงเวลาการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ จนพร้อมใช้งานอาจจะนานขึ้น ให้คุณลองทดสองจับเวลาด้วยตัวเองว่ามันช้ามากแค่ไหน รับได้หรือไม่ ถ้ารับไม่ได้ก็ย้อนไปเลือกตัวเลือก “Turn on fast startup (recommended)” เหมือนเดิม
หรือแบบที่ 2 วิธีการง่าย ๆ ก็คือ ให้คุณกดปุ่ม Shift ค้างเอาไว้ตอนที่กดคำสั่ง Shutdown วิธีการนี้จะบังคับให้ Windows เข้าสู่การ Shutdown เต็มรูปแบบ หรือถ้าอยากจะทำอะไรสนุก ๆ หรือเท่กว่านั้น ก็ต้องใช้คำสั่ง Dos ง่าย ๆ ด้วยคำสั่ง
Shutdown /s /f
คุณอาจจะสร้างคำสั่งข้างบนเอาไว้เป็น Batch file แล้ว save เอาไว้บน Desktop ชื่อ Shutdown.cmd พอจะต้องการ Shutdown แบบสมบรูณ์ก็ Double Click ไฟล์นี้ ก็จะ Shutdown แบบสมบรูณ์ให้เลย (ผมไม่ลงลึกเรื่องการทำ Batch file นะครับ ใครอยากทราบ เดี๋ยวผมเปิดคลาสสอนเก็บตังค์ 🙂 ทุกวันนี้ผมยังใช้ Dos command และ Batch File ทำงานนู่นนี่นั่นเยอะแยะ เพราะง่ายและเร็วกว่าการคลิกหลาย ๆ ครั้งด้วยเมาส์)
หรือถ้าคุณไม่ต้องการแก้ไขค่าข้างต้นหล่ะ แล้วจะทำยังไงให้ Windows ลบค่า Up Time และสิ่งต่าง ๆ ที่ตกค้างในหน่วยความจำนั้นต้องทำยังไง ง่าย ๆ เลยครับ เปลี่ยนจากการ Shutdown ไปเป็นการเลือก Restart แทน ซึ่งทำให้ให้ค่า Up Time โดนลบทิ้งพร้อม ๆ กับสิ่งต่าง ๆ ที่ตกค้าง แล้วค่อยเลือก Shutdown อีกครั้ง เมื่อคอมพิวเตอร์เปิดกลับมาทำงานแล้ว แต่วิธีการนี้ ค่า Up Time จะเริ่มนับไปแล้วหลังจากที่เปิดกลับมาพร้อมใช้ และนับต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะมีการลบค่านี้อีกครั้ง
และการเลือก Restart แลัวมันเคลียร์สิ่งต่าง ๆ ที่ตกค้างในหน่วยความจำของ Windows นี่เองที่เป็นพระเอก เหมือนเวลาที่คุณอาจจะเคยได้ยินฝ่าย IT ชอบบอกว่าให้ Restart Windows เสีย 1 ครั้ง เวลาที่คุณแจ้งปัญหาต่าง ๆ กับเค้า แล้วก็เหมือนกับพวกเค้าร่ายมนต์ใส่เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ แล้วมันก็กลับมาทำงานได้ปกติเหมือนเดิม ปัญหาที่คุณเจอก่อนหน้านั้นหายไปซะงั้น ทั้ง ๆ ที่เค้าไม่ต้องจับเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณเสียด้วยซ้ำ คุณคงพอจะเข้าใจแล้วนะครับ 😛
ตอนต่อไปผมจะมาเขียนถึงฝั่ง iPhone บ้าง ซึ่งก็คล้ายกัน การปิดเครื่อง ไม่เหมือนกับการ Restart รออ่านกันเด้อ
#iamSK #ITPro #Microsoft #Windows #Windows10 #FastStarup #Shutdown #Hybernation #Restart
.
ติดตามกันได้:
•• Twitter – twitter.com/iamsk
•• Instagram – instagram.com/iamsk
•• Youtube – http://bit.ly/iamsk-youtube
•• FB Page – https://bit.ly/iamsk-page
.
.